รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
วันที่แต่ง
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่องย่อ
กวีเดินทางพร้อมน้อง บิดา และศิษย์ของบิดา รวม 4 คน ออกจากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามในตอนเย็น ระหว่างทางกวีบรรยายสถานที่ที่ผ่าน เช่น วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ปากง่ามบางกอกน้อย บางขุนพรหม บางจาก บางพลู บางอ้อ บางซ่อน บางแก้ว ฯลฯ จากนั้นเข้าสู่ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี กวีเล่าว่ามีชาวมอญตั้งบ้านเรือนอยู่จำนวนมาก ครั้นไปถึงบ้านลาว เห็นชาวลาวเจาะหูยานใหญ่ต่างกับพวกลาวในกรุงเทพฯ ที่สวมซิ่นและสำอางมากกว่า ในคืนแรกกวีพักที่วัดมอญเชิงรากซึ่งมีบรรยากาศน่ากลัว รุ่งเช้าจึงเดินทางต่อ เมื่อไปถึงสามโคก จังหวัดปทุมธานี บิดาได้เล่านิทานบอกที่มาของเมืองสามโคก
เมื่อถึงวัดพนัญเชิงวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บิดาเล่าว่าพระใหญ่ซึ่งเป็นที่นับถือของชาวไทยและชาวจีนบริเวณนั้นมีความศักดิ์สิทธิ์มาก หากบ้านเมืองเดือดร้อนองค์พระจะพังทรุด หากบ้านเมืองร่มเย็นพระพักตร์จะอิ่มงาม จากนั้นกวีขึ้นฝั่งที่ศาลาท่าน้ำวัดโสมนัสเพื่อหาดอกไม้บูชาพระแล้วลงเรือเข้าสู่คลองสวนพลูซึ่งร่มรื่นมาก ทั้งหมดค้างคืนที่วัดใหญ่ชัยมงคล ในคืนนั้นมีการทำพิธีจับแร่ปรอทโดยใช้น้ำผึ้ง บิดาสามารถจับแร่ปรอทได้ 3 องค์ แต่ครั้นรุ่งสางแร่ปรอททั้งสามก็หนีไป บิดาจึงเดินทางตามลายแทงไปหายาอายุวัฒนะที่วัดเจ้าฟ้าอากาศนาถนรินทร์ ยานั้นอยู่ในตุ่มฝั่งไว้ใต้ฐานพระในโบสถ์ เมื่อถึงวัดในยามค่ำบิดาเริ่มทำพิธีเพื่อขุดยาอายุวัฒนะ เกิดลมพัดแรง ฝนตกหนัก ไม่สามารถทำพิธีต่อไปได้ ครั้นรุ่งสางย่าม ผ้าห่ม และตำราถูกลมพัดหายไป บิดาจึงเลิกคิดจะขุดยาอายุวัฒนะเพราะเกรงอาเพศ ทั้งหมดเดินทางกลับกรุงเทพฯ
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
สุนทรภู่. “นิราศวัดเจ้าฟ้า.” ใน ประชุมนิราศสุทรภู่, หน้า 53-70. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2556. (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเวชชภัณฑ์ ศุขสุเมฆ วันที่ 22 ธันวาคม 2555)
คำสำคัญ