รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่องย่อ
มีเนื้อหาตามเรื่องสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่มีรายละเอียดของเนื้อหาบางส่วนเพิ่มขึ้นจากสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เช่น บทพรรณนาธรรมชาติ บทพรรณนาอารมณ์ บทตลกขบขัน บทอัศจรรย์ และบทแต่งองค์ทรงเครื่องซึ่งเป็นขนบการประพันธ์วรรณคดีประเภทบทละครของไทย
นอกจากนั้นเนื้อหาบางตอนยังแสดงให้เห็นการผสมผสานกับวัฒนธรรมไทย เช่น ตอนที่เบียวเต๊กถูกจับได้ว่าคิดทรยศ ก่อนจะให้การต่อโจโฉเบียวเต๊กได้อัญเชิญเทวดา เทพเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาต่างๆ รวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนไทยตามท้องถิ่นนับถือมาเป็นสักขีพยานด้วย เช่น เจ้าพ่อ เจ้าแม่ ผีปอบ ผีจะกละ เป็นต้น
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
ดำรงราชานุภาพ, พระเจ้าบรมวงศเธอ กรมพระ. ตำนานหนังสือสามก๊ก. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2471. (ทรงแต่งเปนภาคผนวกประกอบหนังสือสามก๊กฉะบับงานพระเมรุสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าฯ)
เสนานุชิต (เจด), ขุน. สามก๊กคำกลอน. กรุงเทพฯ: กรุงเทพการพิมพ์, 2516. (พิมพ์เป็นที่ระลึกในวันเกิดที่เจ็ดสิบแปด ของ นางกิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ 20 มีนาคม 2516)
คำสำคัญ
หมายเหตุ
ขุนเสนานุชิตกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการแต่งไว้ว่า “เอาไว้หวังเปนกลอนลครเล่น” โดยหยิบยกเนื้อหาส่วนที่เป็น “ข้อที่ขำๆ” ในเรื่องสามก๊กมาแต่งเป็นตอนๆ รวม 17 เล่มสมุดไทย เริ่มตั้งแต่เมื่อจิวยี่คิดอุบายจะชิงเมืองเกงจิวซึ่งเล่าปี่ครอบครองอยู่ให้แก่ซุนก๋วนเจ้าเมืองกังตั๋ง จนถึงเมื่อม้าเฉียวไปเกลี้ยกล่อมเล่าเจียงเจ้าเมืองเสฉวนให้ยอมอ่อนน้อมต่อเล่าปี่