| |   เข้าสู่ระบบ

เอ๋งติ๋งห้าว

เนื้อเรื่องย่อ

เอ๋งติ๋งห้าวและอ๊าวติ๋งโฮ่งเป็นโอรสท้าวอุดมโคตร  วันหนึ่งโหรทำนายว่าทั้งสองเป็นภัยต่อบ้านเมือง  พระบิดาจึงให้เนรเทศไป  ทั้งสองฝากตัวเป็นศิษย์ของพระฤๅษี   เมื่อสำเร็จวิชาก็ขโมยของมีค่าของพระฤๅษีแล้วหนีไป  เมื่อเอ๋งติ๋งห้าวและอ๊าวติ๋งโฮ่งเดินทางไปถึงเมืองแกบแมมแมวของท้าวถิ่งโยนโกก  ได้ข่าวว่านางสังขะอู๊ดธิดาท้าวถิ่งโยนโกกอยากเสวยน้ำตับช้างก็อาสาล้มช้างให้ ทั้งสองจึงมีโอกาสได้รู้จักนางสังขะอู๊ด  ต่อมาท้าวหยีแย่กับกับเจ้าเมืองกุดกู่ส่งทูตไปสู่ขอนางสังขะอู๊ด แต่ท้าวถิ่งโยนโกกปฏิเสธ  ทั้งสองฝ่ายจึงต้องทำสงครามกัน  เอ๋งติ๋งห้าวและอ๊าวติ๋งโฮ่งอาสาออกรบ  ท้าวหยีแย่กับกับถูกจับได้  แต่เอ๋งติ๋งห้าวและอ๊าวติ๋งโฮ่งช่วยทูลขออภัยโทษไว้  ท้าวหยีแย่กับกับจึงยกธิดาชื่อกะจ๋องป๋องให้อ๊าวติ๋งโฮ่ง  ส่วนเอ๋งติ๋งห้าวได้อภิเษกกับนางสังขะอู๊ด ต่อมาท้าวถิ่งโยนโกกกับท้าวหยีแย่กับกับออกบวชเป็นชีเปลือย  เอ๋งติ๋งห้าวและอ๊าวติ๋งโฮ่งจึงได้ครองราชสมบัติแทนพระสสุระ (พ่อตา) ของตน

ผู้เรียบเรียง

เอกสารอ้างอิง

ตลกโวหาร [นามแฝง].  เอ๋งติ๋งห้าว.  พิมพ์ครั้งที่ 4.  พระนคร: เกษมบรรณกิจ, 2511.
นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา.  สาส์นสมเด็จ เล่ม 1.  พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม).  กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2546.

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

คำสำคัญ

หมายเหตุ

ตีพิมพ์ครั้งแรกที่โรงพิมพ์วัดเกาะเมื่อ พ.ศ. 2435 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสืบหานามจริงของผู้แต่งไว้ในหนังสือสาส์นสมเด็จฉบับลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 ว่า “ผู้แต่งชื่อนายเสม เปนพี่เลี้ยงกรมหมื่นกวีพจน์” นิทานเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อความสนุกสนานดังที่ตลกโวหารกล่าวว่า “ไว้ดูเล่นเป็นกระแสแก้รำคาญ แม้นใครอ่านขอษมาบรรดาฟัง ด้วยจงจิตคิดเล่นเห็นสนุก พอแก้ทุกข์ตามประสาเหมือนบ้าหลัง”

นามานุกรมล่าสุด

Copyright © 2015 ฐานข้อมูลนามานุกรมวรรณคดีไทย : Thai Literature Directory