TLD-004-001
กกุฏวาณิชคำโคลง
โคลง
โคลงสี่สุภาพ
พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นบุตรของพ่อค้าชื่อบัณฑิต ได้ร่วมกับเพื่อนชื่ออติบัณฑิตลงทุนค้าขายตามชนบท โดยตกลงกันว่าเมื่อได้ผลกำไรมาจะแบ่งปันกันตามส่วน แต่อติบัณฑิตเป็นคนไม่ซื่อตรง ถ้ามีโอกาสคดโกงได้ก็จะกระทำ ครั้งหนึ่งเมื่อขายสินค้าหมดได้แบ่งผลกำไรกัน อติบัณฑิตคิดแบ่งผลกำไรให้บัณฑิตเพียงส่วนเดียว ส่วนตนเองได้สองส่วน โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจากชื่อของบัณฑิตแปลว่า “เป็นบัณฑิต” เท่านั้น แต่ชื่อของอติบัณฑิตแปลว่า “ยิ่งกว่าบัณฑิต” จึงควรได้ส่วนแบ่งมากกว่า ทำให้ทั้งสองขัดแย้งกัน อติบัณฑิตคิดอุบายให้บิดาตนเข้าไปอยู่ในโพรงไม้ แล้วตัดสินผลกำไรตามที่อติบัณฑิตได้วางอุบายไว้ บัณฑิตรู้เท่าทันด้วยปัญญาจึงนำหญ้าแห้งมาเผาโพรงไม้ บิดาของอติบัณฑิตทนความร้อนไม่ได้ จึงออกมาจากโพรงไม้และสารภาพเรื่องทั้งหมด ในที่สุดตกลงกันได้โดยแบ่งกำไรกันคนละครึ่ง ตั้งแต่นั้นมาทั้งสองก็แยกกันค้าขาย
"ชิต บุรทัต. กวีนิพนธ์บางเรื่องของ ชิต บุรทัต. กรุงเทพฯ : กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์, 2521.
วรรณคดีไทยสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว , ชิต บุรทัต , ร.6 , กูฏวาณิชชาดก , ชาดก , นิบาตชาดก
พระสูตรและอรรถกถา แปล ขุททกนิกาย. กรุงเทพฯ : มหามกุฎราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์, โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2525." ประพันธ์ขึ้นจากเรื่องกูฏวาณิชชาดกในขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดกเรื่องที่ 98 โดยคงเนื้อหาและการดำเนินเรื่องตามชาดก แต่มีรายละเอียดบางส่วนต่างกันเล็กน้อย
Copyright © 2015 ฐานข้อมูลนามานุกรมวรรณคดีไทย : Thai Literature Directory