รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
วันที่แต่ง
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
โตฎกฉันท์ 12 , อินทรวิเชียรฉันท์ , สัทธราฉันท์ , สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ , วสันตดิลกฉันท์ , มาลินีฉันท์ , กาพย์สุรางคนางค์ , กาพย์ฉบัง
เนื้อเรื่องย่อ
เศรษฐีผู้หนึ่งในเมืองพาราณสีมีภรรยาซึ่งให้กำเนิดบุตรชายในวันเดือนปีเดียวกับบุตรชายของทาสี เศรษฐีเลี้ยงดูกุมารทั้งสองเป็นอย่างดี และให้เรียนวิชาจากสำนักอาจารย์เดียวกัน กฏาหกบุตรทาสีเป็นผู้มีรูปงามและเฉลียวฉลาด พาราณสีเศรษฐีเอ็นดูรักใคร่ไว้วางใจให้ดูแลกิจการในเรือน กฏาหกทำงานทุกอย่างสำเร็จโดยสมบูรณ์ อยู่มากฏาหกเกิดความคิดว่าถ้าอยู่กับเศรษฐีต่อไป วันหนึ่งเศรษฐีอาจเห็นข้อผิดพลาดก็จะลงโทษเฆี่ยนตีและใช้เหมือนทาส จึงคิดหนีไปอยู่ต่างเมืองเผื่อจะพบตระกูลที่มีสมบัติและจะได้หาคู่ครอง เขาเห็นว่าเศรษฐีแห่งปัจจันตคามซึ่งเป็นเพื่อนกับพาราณสีเศรษฐีมีธิดารูปงามก็อยากได้เป็นภรรยา กฏาหกจึงเขียนจดหมายและลักตราของพาราณสีเศรษฐีประทับแล้วเดินทางไปปัจจันตคาม หลอกเศรษฐีแห่งปัจจันตคามว่าตนเป็นบุตรชายของพาราณสีเศรษฐีนำจดหมายของบิดามาให้ เศรษฐีแห่งปัจจันตคามเปิดอ่านเป็นข้อความว่าพาราณสีเศรษฐีสู่ขอธิดาให้แก่บุตรชายซึ่งถือจดหมายมา เศรษฐียินดีที่ธิดาได้คู่ครองที่เหมาะสมกันจึงรีบจัดงานวิวาห์และมอบทรัพย์สมบัติข้าทาสบริวารให้ กฏาหกเป็นคนมีนิสัยโอ้อวดยกตนว่ารู้ดี ไม่ว่าใครทำอะไรก็ตำหนิทุกครั้ง ธิดาเศรษฐีผู้ภรรยาก็ถูกตำหนิเรื่องการปรนนิบัติทำให้ช้ำใจเสมอ
ฝ่ายพาราณสีเศรษฐีไม่เห็นกฏาหกก็ให้คนไปสืบหา ครั้นได้ความว่าไปอยู่ที่ปัจจันตคามจึงตามไป กฏาหกได้ยินข่าวพาราณสีเศรษฐีเดินทางมาปัจจันตคาม เกรงว่าความลับจะถูกเปิดเผยก็คิดอุบายออกไปต้อนรับล่วงหน้ายังที่พำนักของพาราณสีเศรษฐี มอบบรรณาการและเฝ้าปรนนิบัติอย่างดี แล้วไปอ้อนวอนเศรษฐีขอให้คุ้มครองตนอย่าให้อับอาย เมื่อไปถึงปัจจันตคามกฏาหกดูแลพาราณสีเศรษฐีเป็นอย่างดีและเศรษฐีก็รักใคร่กฏาหกเหมือนบุตร คนทั้งหลายจึงเชื่อถือและนับถือกฏาหก วันหนึ่งพาราณสีเศรษฐีเรียกภรรยากฏาหกมาถามว่านางกับกฏาหกรักใคร่กันดีหรือไม่ นางตอบว่ากฏาหกเป็นคนชอบติเตียนบ่นน่ารำคาญ พาราณสีเศรษฐีบอกว่าจะสอนมนตร์บทหนึ่งสำหรับปิดปากกฏาหก เมื่อเขาบ่นครั้งใดก็ให้นางท่องมนตร์บทนี้
วันหนึ่งกฏาหกบริโภคอาหาร ภรรยาคอยจ้องมองอยู่เห็นกฏาหกขยับปากจะตำหนิเรื่องอาหาร นางก็ท่องมนตร์เป็นข้อความว่า “ผู้มาต่างถิ่นกล่าวอวดตนโดยไม่ระแวงว่าอาจถูกประทุษร้ายได้ เชิญนายกฏาหกบริโภคอาหารเสียเถิด” กฏาหกได้ยินก็ตกใจคิดว่าพาราณสีเศรษฐีคงเล่าเรื่องทั้งหมดให้ภรรยาตนรู้แล้ว ตั้งแต่นั้นมากฏาหกก็ไม่กล้ากล่าวคำตำหนิผู้ใดอีกเลย เขาได้อยู่กับภรรยาและครอบครองทรัพย์สมบัติอันมหาศาลอย่างมีความสุข
เมื่อจบเรื่องแล้วเป็นการสรุปความว่าการปิดความลับนั้นยาก กลอุบายอาจลวงได้แต่ผู้ไม่รู้เท่าทัน แล้วลงท้ายด้วยการถวายพระพรพระมหากษัตริย์
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
ธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก), หลวง. กฏาหกคำฉันท์. พระนคร: พระจันทร์, 2472. (พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์เอก หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) ปีมะเส็ง พ.ศ. 2472.
คำสำคัญ
หมายเหตุ
ประพันธ์ตามเนื้อเรื่องในชาดกเรื่องที่ 125 กฏาหกชาดก เอกนิบาต ในนิบาตชาดก