| |   เข้าสู่ระบบ

กวีนิพนธ์ว่าด้วยการประพันธ์ กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ ร่าย

เนื้อเรื่องย่อ

บทที่ 1 ความสำคัญแห่งวรรณคดี  ได้แก่  (1) วรรณคดีเป็นหลักชัยของชาติ  (2) วรรณคดีทำให้ประเทศเป็นมหาอำนาจ (3) วรรณคดีเป็นเครื่องหมายความเจริญของชาติ (4)ความคลี่คลายของภาษาไทย และ (5) วรรณคดีมีคุณอย่างไร 
 
บทที่ 2 ความเป็นมาแห่งวรรณคดี  ได้แก่ (1)  วรรณคดีสมัยสุโขทัย   (2) วรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยา  (3) วรรณคดีสมัยกรุงเทพ ฯ  และ (4) วรรณคดีเป็นอาภรณ์ของชาติ
 
บทที่ 3 การอ่านวรรณคดีต้องรู้ความหมาย ได้แก่ (1) เรื่องในพุทธประวัติ  (2)  ตัวอย่างและเนื้อหาวรรณคดีเก่า ๆ  และ (3) นิทาน 
 
บทที่  4 ประเภทแห่งบทประพันธ์  คือ คำประพันธ์แบบร้อยแก้ว ได้แก่ (1) จดหมายเหตุ (2) ตำนาน (3) พงศาวดาร (4) ประวัติศาสตร์ (5) ภูมิศาสตร์ (6) พุทธศาสน์ (7) ตำรา และ  (8) ชีวประวัติ   
คำประพันธ์แบบร้อยกรอง ได้แก่ (1) คำร่าย (2) คำโคลง (3) คำกาพย์ (4) คำกลอน  และ (5) คำฉันท์ 
 
บทที่ 5 ว่าด้วยเครื่องอุปกรณ์การประพันธ์   จำแนกได้ 2 ประเภทใหญ่  คือ  ถ้อยคำลักษณะต่าง ๆ และถ้อยคำที่เป็นชื่อเรียก   ถ้อยคำลักษณะต่าง ๆ  ที่ช่วยให้การประพันธ์สะดวกขึ้นได้แก่  คำไวพจน์   คำพ้นสมัยที่นิยมใช้ในงานประพันธ์  คำสัมผัส  คำครุ คำลหุ   คำขึ้นต้นและลงท้ายบทกวี  คำประพันธ์ที่ต่อจนครบบทบริบูรณ์ (คำสร้อย)   ส่วนถ้อยคำที่เป็นชื่อเรียก  คือ  บท  บาท  วรรค  และคำเบ็ดเตล็ดในทางกวีนิพนธ์ ได้แก่ คำเป็น  คำตาย  คำเอก คำโท
 
บทที่ 6 ว่าด้วยบทกวีคำร่าย จำแนกได้ 7 ประเภท ได้แก่ คำร่ายโบราณ  คำร่ายสุภาพ   คำร่ายดั้น    คำร่ายยาว   คำร่ายยาวมหาชาติ  คำร่ายลิลิต และคำร่ายลิลิตดั้น     มีตัวอย่างประกอบจากวรรณคดีต่าง ๆ เช่น ลิลิตพระลอ  จินดามณี   มหาเวสสันดรชาดก  ลิลิตตะเลงพ่าย
 
บทที่ 7 ว่าด้วยบทกวีคำโคลง  จำแนกได้ 6 ประเภทใหญ่ คือ คำโคลงสุภาพ   คำโคลงดั้น   และคำโคลงพิเศษต่าง ๆ   โคลงสุภาพจำแนกย่อยได้ 3 จำพวก คือ คำโคลง 2 สุภาพ  คำโคลง 3 สุภาพ  และคำโคลง 4 สุภาพ     คำโคลงดั้น จำแนกได้เป็น 6 ประเภท คือ  คำโคลง 2 ดั้น  คำโคลง 3 ดั้น  คำโคลง 4 ดั้นวิวิธมาลี  คำโคลง 4 ดั้นบาทกุญชร  คำโคลง 4 ดั้น ตรีพิธพรรณ และ คำโคลง 4 ดั้นจัตวาทัณฑี  คำโคลงพิเศษ จำแนกออกเป็น คำโคลงกลบท และคำโคลงกลอักษร  ใช้ตัวอย่างประกอบจากวรรณคดีต่างๆ เช่น ลิลิตยวนพ่าย  โคลงโลกนิติ  นิราศนรินทร์   มหาชาติคำหลวง  โคลงดั้นพระราชพิธีโสกันต์  โคลงเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 2 
 
บทที่ 8 ว่าด้วยบทกวีคำกาพย์ จำแนกได้ 3 ประเภท คือ คำกาพย์ยานี     คำกาพย์ฉบัง ( ได้แก่กาพย์ฉบัง 16 และกาพย์นาคบริพันธ์) และกาพย์สุรางคนางค์ (ได้แก่กาพย์สุรางคนางค์ 28  กาพย์สุรางคนางค์ 32  กาพย์สุรางคนางค์ 36  และกาพย์สุรางคนางค์สารวิลาสินี)  และมีตัวอย่างประกอบจากวรรณคดีต่าง ๆ เช่น มหาชาติคำหลวง  กาพย์เห่เรือ  กาพย์พระไชยสุริยา  ราชาพิลาป   อนิรุทธ์คำฉันท์  
 
บทที่ 9 ว่าด้วยบทกวีคำกลอน   จำแนกย่อยได้หลายประเภท คือ คำกลอนแปด  คำกลอนเสภา  คำกลอนเพลงยาว  คำกลอนเพลงยาวกลบท   คำกลอนนิราศ   คำกลอนหนังสือประโลมโลก  คำกลอนบทละคร   คำกลอนบทดอกสร้อย  คำกลอนบทสักวา  คำกลอนบทมโหรี   และคำกลอนบทเพลงพื้นเมือง ( ได้แก่ เพลงเรือ  เพลงปรบไก่ เพลงขอทาน  เพลงฉ่อย เพลงลิเก  เพลงโคราช เพลงอีสานหรือเพลงแอ่วลาว และเพลงไหว้ครู) มีตัวอย่างประกอบจากวรรณคดีต่าง ๆ  ได้แก่  เพลงยาวกลบท พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ปกีรณำพจนาดถ์  อิศรญาณภาษิต  ขุนช้างขุนแผน  เพลงยาวของนายพิมเสน   เพลงยาวของนายนรินทร์ธิเบศร์  เพลงยาวกลบทของกรมหลวงวงศาธิราชสนิท  เพลงยาวกลบทของกรมหมื่นไกรสรวิชิต  เพลงยาวกลบทของนายเกตุ   เพลงยาวกลบทของขุนธนสิทธิ์  เพลงยาวกลบทของนายชาญภูเบศร์  นิราศพระบาทของสุนทรภู่  บทละครดึกดำบรรพ์เรื่องอิเหนา  บทละครร้องพระนิพนธ์ของกรมหมื่นนราธิปประพันธพงศ์  เพลงมโหรี  เพลงพื้นเมืองต่าง ๆ 
 
บทที่ 10 ว่าด้วยบทกวีคำฉันท์  จำแนกประเภทของฉันท์ตามจำนวนคำได้ 81  ชนิด  คือ 
1) ฉันท์ประเภท  6 คำ  มี 1 ชนิด ได้แก่  ตนุมัชฌาฉันท์ 6   
2) ฉันท์ประเภท  7 คำ  มี 1 ชนิด ได้แก่  กุมารลลิตาฉันท์   
3) ฉันท์ประเภท  8 คำ  มี 5 ชนิด ได้แก่  จิตรประทาฉันท์  วิชชุมมาลาฉันท์  มาณวกฉันท์  สมานิกฉันท์  และอุปมานิกฉันท์
4) ฉันท์ประเภท 9 คำ  มี 2 ชนิด ได้แก่  หลมุขีฉันท์ และ ภุชคสุหุตฉันท์  
5) ฉันท์ประเภท 10 คำ  มี 7 ชนิด ได้แก่  สุทธวิราชิตาฉันท์ ปณวฉันท์  รุมมวดีฉันท์  มัตตาฉันท์  จัมปกมาลาฉันท์  มโนรมฉันท์ และอุพภสกฉันท์  
6) ฉันท์ประเภท 11 คำ  มี 12 ชนิด ได้แก่  อุปัฏฐิตาฉันท์  อินทรวิเชียรฉันท์  อุเปนทรวิเชียรฉันท์  อุปชาติฉันท์  สุมุขีฉันท์  โทธิกฉันท์  สาลินีฉันท์  ธาตุมิสสาฉันท์  สุรสสิรีฉันท์ รโธทธตาฉันท์  สวาคตฉันท์ และภัททิกาฉันท์ 
4) ฉันท์ประเภท 12 คำ  มี 14 ชนิด ได้แก่ วังสัฏฐฉันท์  อินทวงศ์ฉันท์  โตฏกฉันท์  ทุตวิลัมพิตฉันท์  ปุฏฉันท์  กุสุมวิจิตรฉันท์  ภุชงคปยาตรฉันท์  ปิยังวทาฉันท์  ลลิตาฉันท์  ปมิตักขราฉันท์  อุชชลาฉันท์  เวสเทวีฉันท์  หิตามรสฉันท์  และกมลฉันท์  
8) ฉันท์ประเภท 13 คำ  มี 2 ชนิด ได้แก่ ปหาสินีฉันท์และรุจิราฉันท์ 
9) ฉันท์ประเภท 14 คำ  มี 3  ชนิด ได้แก่ อปราชิตฉันท์  ปหรณกลิกาฉันท์  และวสันตดิลกฉันท์ 
10) ฉันท์ประเภท 15 คำ  มี 4 ชนิด ได้แก่ สสิกลฉันท์  มณีคณะนีกรฉันท์  มาลินีฉันท์  และปภัทกฉันท์ 
11) ฉันท์ประเภท 16 คำ  มี 4 ชนิด ได้แก่  วาณินีฉันท์  อาวัตตฉันท์ ปัฐยาวัตรฉันท์ และจปลาวัตรฉันท์  
12) ฉันท์ประเภท 17 คำ มี 3 ชนิด ได้แก่  สิขิริณีฉันท์  หรณีฉันท์ และมันทักกันตาฉันท์  
13) ฉันท์ประเภท 18 คำ  มี 3 ชนิด ได้แก่  กุสุมิตะลดาเวลิตาฉันท์
14) ฉันท์ประเภท 19 คำ มี 2 ชนิด ได้แก่    เมฆวิปผุชิตาฉันท์ และสัททุลวิกิฬิตฉันท์ 
15) ฉันท์ประเภท 20 คำ มี 1  ชนิด ได้แก่  อิทิสฉันท์  
16) ฉันท์ประเภท 21 คำ มี 4  ชนิด ได้แก่ สัทธราฉันท์  เวควดีฉันท์ ภัทวิราชฉันท์  และเกตุมดีฉันท์  
17) ฉันท์ประเภท 22 คำ มี 4  ชนิด ได้แก่ อาขยานิกาฉันท์ วิปริตบุญฉันท์  ภัทกฉันท์  และอุปจิตรฉันท์  
18) ฉันท์ประเภท 23 คำ  มี 3  ชนิด ได้แก่ รุตมัชฌาฉันท์ ปลุตาฉันท์ และอปริวัตฉันท์ 
19) ฉันท์ประเภท 24 คำ  มี 1  ชนิด ได้แก่ วิปุลลาฉันท์ 
20) ฉันท์ประเภท 25  คำ  มี 2 ชนิด ได้แก่ บุปผิตัคคฉันท์  และยุมดีฉันท์ 
21) ฉันท์ประเภท 32 คำ  มี 5 ชนิด ได้แก่ วิปริตปัฐยาวัตรฉันท์  ภการวิปุลลาฉันท์  รการวิปุลลาฉันท์  นการวิปุลลาฉันท์ และตการวิปุลลาฉันท์ 

วัตถุประสงค์

ผู้เรียบเรียง

เอกสารอ้างอิง

สารประเสริฐ, พระ.  กวีนิพนธ์ว่าด้วยการประพันธ์กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์.  พระนคร : โรงพิมพ์ธนาคารออมสิน, 2502.

คำสำคัญ

หมายเหตุ

โดยรวบรวมและเรียบเรียงตามหลักบัญญัติโบราณ และมีภาพประกอบ เพื่อให้เป็นตำราสำหรับเรียนเกี่ยวกับการกวีของชาติ โดยที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

นามานุกรมล่าสุด

Copyright © 2015 ฐานข้อมูลนามานุกรมวรรณคดีไทย : Thai Literature Directory