รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
วันที่แต่ง
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่องย่อ
บริษัทส่งข่าวต่างๆ โทรเลขรายงานข่าวระหว่างวันที่ 15 - 30 มิถุนายน มาว่า วันที่ 15 มิถุนายน เหล่าม้าเทียมเกวียนที่ปารีสก่อจลาจลทำลายรถยนต์ รถพ่วงข้าง จับคนขับรถขังไว้ในโรงรถ และเลือกม้าตัวหนึ่งเป็นประธาน วันที่ 16 เหล่าปศุสัตว์ของหญิงชราที่ชาโตรูซ์ร่วมกันตั้งสมาคมแดงแบบบลเชวิก หมู่แมว หมา และนกแก้วพร้อมใจกันทำร้ายเจ้าของ วันที่ 19 พวกม้าไถนาที่โนจอง-เลอะ-รัว พากันโยนนายลงรางน้ำ และร่วมกับโคนมเตะตั่งรีดนม พวกแพะประกาศว่าจะกำหนดอนาคตของตนเอง ครั้นถึงวันที่ 21 ไก่เล็กฮอร์นชักชวนฝูงไก่ให้ก่อกบฏ พากันต่อยไข่ในเครื่องเพาะ และปล่อยลูกไก่ให้เป็นอิสระ วันที่ 24 ที่มองต์ แซงต์มิเชล พวกแกะเข้าร่วมก่อการและส่งตัวแทนจากอังกฤษไปประกาศห้ามไม่ให้มีการตัดขนแกะอีกต่อไป วันที่ 25 มีการประชุมใหญ่ของผู้ก่อการกำเริบที่ลิโมจส์ หมู่หมายึดบ้านนายไว้ได้ทั้งหมด โดยมีหมาเยอรมันเป็นตัวการ แล้วประกาศตนไม่เป็นข้าของมนุษย์อีกต่อไป ทั้งยังจะให้มนุษย์จัดหาหญ้า ข้าว เนื้อ รวมทั้งจัดที่อยู่ให้ด้วย ขณะนั้นลาตัวหนึ่งพูดสอดขึ้นว่าสิ่งที่หมาเยอรมันต้องการนั้น ตนได้รับเป็นปกติอยู่แล้ว และตนก็มีมนุษย์ “เป็นขี้ข้าเสมอมา” ลากล่าวอีกว่า “ตัวฉันเองฉันพอใจแล้ว. ฉันจะไปดูหนังละ!” เมื่อสัตว์อื่นๆได้ฟังก็ได้คิดจึงพากันรุมด่าหมาเยอรมันแล้วชวนกันไปดูหนัง ต่อมาในวันที่ 30 มิถุนายน พวกกำเริบที่ปารีสก็กลับไปที่อยู่ของตน ความสงบจึงกลับคืนมาอีกครั้ง
ท้ายเรื่องการก่อกำเริบแห่งปศุสัตว์มี “ความเห็นของผู้แปล” กล่าวถึงภูมิหลังของเรื่องที่แต่งนั้นว่า ประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษเกิดเรื่องยุ่งยากเพราะกรรมกรเรียกร้องสิ่งต่างๆ และรวมกันนัดหยุดงาน เมื่อสืบสาวไปได้ความว่าชาวต่างชาติเป็นผู้ยุแหย่ให้เกิดการจลาจล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเตือนว่า “...ในเมืองเรามีบุคคลบางจำพวกที่สำคัญว่าตนเป็นคนมีวิชาความรู้, หรือสรุปความว่า ‘ศิวิไลซ์,’ คิดเห็นไปว่าถ้าเล่นอะไรเฉียดๆ กำเริบจึ่งจะ ‘โก้, ’ เพราะฉะนั้น ควรระวังไว้เหมือนกันอย่าให้ถูก ‘หมาเยอรมัน’ หรือหมาชาติใดๆ ล่อเอาหลงไปอย่างพวกปศุสัตว์ในนิทาน...”
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
ร.จ. [พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]. “การก่อกำเริบแห่งปศุสัตว์.” ใน ดุสิตสมิต เล่ม 4 ฉบับที่ 38 - ฉบับพิเศษ (กันยายน-ตุลาคม 2462):75-77. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพฯ: มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2531. (จัดพิมพ์โดยเสด็จพระกุศล ซึ่งสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงบำเพ็ญเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ 26 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2531 ครบ 63 ปี)
คำสำคัญ
หมายเหตุ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวใช้พระนามแฝงว่า ร.จ. ทรงพระราชนิพนธ์แปลลงในหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิตรายสัปดาห์ ฉบับที่ 42 เมื่อ พ.ศ. 2462 ตอนต้นเรื่องมีวงเล็บไว้ว่าเรื่องนี้ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้แต่ง และหนังสือพิมพ์ “สแต๎รนต์แมกะซีน” แปลไว้เป็นภาษาอังกฤษเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2462