รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
วันที่แต่ง
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่องย่อ
“ข้าพเจ้า” เห็นว่าคำเตือนของผู้ใหญ่ไทยที่ไม่ให้กินข้าวคำน้ำคำนั้นตรงกับคำแนะนำของหมอฝรั่ง แต่เมื่อสอบถามเหตุผลกลับไม่ได้คำตอบ เพราะผู้ใหญ่เองก็อธิบายไม่ได้ ที่ห้ามนั้นเป็นเพราะ “อยากสำแดงการเปนผู้ใหญ่” เท่านั้น “ข้าพเจ้า” จึงตั้งใจว่าเมื่อเป็นผู้ใหญ่จะ “กินเข้าคำหนึ่งน้ำสี่ฤๅห้าคำให้เข็ด” แต่แล้วก็ต้องล้มเลิกความคิด เพราะ “การแบ่งน้ำออกเปนคำๆ นั้นมิใช่ของง่าย” และที่ว่าให้เข็ดนั้น “ความจริงไม่มีใครเข็ดนอกจากตัวเราเอง”
หมอฝรั่งอธิบายว่าการกินข้าวคำน้ำคำทำให้น้ำย่อยทำงานไม่ดี หากต้องการให้สุขภาพดีและอายุยืนยาว ต้องกินน้ำตามกำหนดเวลาวันละ 3 ครั้ง คือ 1) ตื่นนอน 2) หลังอาหารกลางวัน 3-4 ชั่วโมง และ 3) หลังอาหารเย็น 3-4 ชั่วโมง “ข้าพเจ้า” เป็นคนกินน้ำมาก เมื่อพิจารณาคำอธิบายนั้นจึงเห็นว่าในบรรดาสัตว์ทั้งหลาย อูฐน่าจะดีกว่าสัตว์อื่นเพราะกินน้ำพักหนึ่งอดไปได้หลายวัน จึงแนะให้คนทั่วไปทำตามอูฐ โดยเริ่มแรกให้กินน้ำตามที่หมอกำหนด จากนั้นค่อยๆ ลดลงจนถึง 7 วันครั้ง ส่วน “ข้าพเจ้า” จะยังกินน้ำเช่นเดิมต่อไปเพราะอดน้ำไม่ได้ดังคำอธิบายที่ว่า “ถึงแม้ข้าพเจ้าเชื่ออยู่เต็มใจว่าการกินน้ำมากทำให้อายุสั้นก็ดี ข้าพเจ้านึกว่าจะยอมอายุสั้น (เอาแต่เพียง 90 เศษฤๅร้อยหนึ่งเท่านั้นก็พอ) ขอแต่ให้ข้าพเจ้าได้กินน้ำให้เต็มอิ่ม ตามเวลาที่ระหายทุกๆ คราวก็แล้วกัน”
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
สุครีพ [พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]. “กำหนดกินน้ำ.” ใน ชวนหวว หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ พ.ศ. 2451. 54-57. พระนคร: โรงพิมพ์มหามงกุฏราชวิทยาลัย, 2505. (สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี ทรงโปรดให้พิมพ์เป็นบรรณาการในการบำเพ็ญพระกุศลคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครบ 37 ปี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ 26 พฤศจิกายน 2505)
คำสำคัญ
หมายเหตุ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ ใช้พระนามแฝงว่าสุครีพ ลงพิมพ์ในหนังสือ “ชวนหวว” ฉบับที่ 31 เมื่อร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451)