รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่องย่อ
บารอนมึนเคาเส้นกับญาติผู้หนึ่งเดินทางทางเรือจะไปท่องเที่ยวที่เกาะลังกา ระหว่างทางเกิดพายุใหญ่พัดต้นไม้บนเกาะลอยขึ้นไปบนท้องฟ้า บนต้นไม้ต้นหนึ่งมีตายายผู้ซื่อสัตย์สุจริตเกาะอยู่ด้วย เมื่อพายุสงบต้นไม้นั้นตกลงมาทับหัวหน้าเมืองประจำเกาะตาย หัวหน้าผู้นี้เป็นคนโลภมากและมักข่มเหงพลเมืองอยู่เสมอ ชาวเกาะจึงพากันดีใจและเชิญให้ตายายเป็นผู้ปกครองเมืองแทน
ต่อมาเมื่อเรือไปถึงเกาะลังกา บารอนมึนเคาเส้นได้ออกไปล่าสัตว์กับน้องชายของผู้ว่าราชการจังหวัด แต่เพราะไม่คุ้นเคยกับสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว บารอนมึนเคาเส้นจึงเดินช้าและตามชายผู้นั้นไม่ทัน เมื่อถึงริมบึงแห่งหนึ่ง ราชสีห์ตัวหนึ่งตรงเข้ามาจะทำร้าย เขาจึงใช้ปืนยิงนกยิงไป เสียงปืนทำให้ราชสีห์โกรธมากขึ้น ตั้งท่าจะโจนเข้าใส่ เมื่อบารอนมึนเคาเส้นหันหลังจะหนีก็พบจระเข้อ้าปากขวางอยู่ จะไปทางขวาก็เป็นบึง จะไปทางซ้ายก็เป็นเหวลึก จึงไม่รู้จะหนีไปทางใด เขาตกใจล้มลง จังหวะนั้นราชสีห์กระโจนเข้ามาพอดี จึงข้ามตัวเขาไป หัวของราชสีห์เข้าไปติดอยู่ในปากจระเข้ ทั้งราชสีห์และจระเข้ต่างดิ้นไปมา เขาได้โอกาส ฉวยมีดเหน็บตัดหัวราชสีห์ และใช้ส้นปืนกระทุ้งหัวราชสีห์เข้าไปในปากจระเข้ จนจระเข้เกิดอาการ “กลืนไม่เข้าคายไม่ออก” และสำลักขาดใจตาย
ผู้ว่าราชการให้นำหนังราชสีห์มาทำกระเป๋าใส่ยาสูบมอบให้บารอนมึนเคาเส้น ต่อมาบารอนมึนเคาเส้นเอาไปให้ผู้สำเร็จราชการฮอลลันด์ ได้เงินมาพันเหรียญ ส่วนหนังจระเข้ผู้ว่าราชการให้นำไปทำให้คงรูปแล้วส่งไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์มักเล่าที่มาของจระเข้นี้ให้ผู้เข้าชมฟังโดยแต่งเติมเรื่องราวตามใจชอบว่า เมื่อราชสีห์โจนเข้าไปในปากจระเข้แล้วก็ทะยานเข้าไปในตัวจระเข้จนสามารถเอาหัวโผล่พ้นทวารของจระเข้ได้ แต่ตัวยังติดอยู่ข้างใน บารอนใช้มีดตัดหัวราชสีห์พร้อมกับหางจระเข้ได้ จระเข้งับมีดจากมือของบารอนกลืนเข้าไป มีดตรงเข้าแทงหัวใจ ทำให้จระเข้ขาดใจตายทันที
เมื่อเล่าจบบารอนมึนเคาเส้นก็กล่าววิจารณ์พฤติกรรมของผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ว่า “การที่ผู้รักษาพิพิธภัณฑ์บังอาจกล่าวข้อความคลาดเคลื่อนจากความจริงเช่นนี้ บางทีก็ทำให้ตัวฉันนึกหวั่นๆ อยู่ว่า ข้อความอันจริงแท้ๆ ของฉันอาจที่จะพลอยตกอยู่ในความถูกสงสัยด้วย. เพราะไปปนเปอยู่กับความมุสาของชายผู้นั้น
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
รามจิตติ [พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]. “กิจการของบารอนมึนเคาเส้น.” ดุสิตสมิต ฉบับที่ 156-181 (มกราคม 2464 - กรกฎาคม 2465).
คำสำคัญ
วรรณคดีไทยสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว , ร.6 , รามจิตติ , บารอนมึนเคาเส้น , เกาะลังกา , เรือแตก , เสือ , จระเข้ , บารอน , พิพิธภัณฑ์ , เรืองแปล
หมายเหตุ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ ใช้พระนามแฝงว่ารามจิตติ แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษชื่อ The Surprising Adventures of Baron Munchausen ของชาวเยอรมันชื่อราสเป (Rudolf Erich Raspe) พิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต ฉบับที่ 156 - 181 ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2464 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2465