รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
วันที่แต่ง
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่องย่อ
คุณย่าเพิ้งเป็นภรรยาหมออ่ำ ก่อนเสียชีวิตหมออ่ำสั่งเสียให้คุณย่าเพิ้งย้ายจากบุรีรัมย์มาอยู่กับญาติที่กรุงเทพฯ จะได้มีที่พึ่งพิง ถ้ามีปัญหาก็ให้ไปหาหมอศุขเพื่อนร่วมครูคนเดียวกันที่พาหุรัด หมอศุขต้อนรับคุณย่าเพิ้งอย่างดี เพราะหมออ่ำมีบุญคุณต่อตนมากครั้งอยู่ที่โคราชและบุรีรัมย์ด้วยกัน คุณย่าเพิ้งปรึกษาหมอศุขว่าตนมีเงินอยู่ 5 ชั่งต้องการทำให้งอกเงยจะมีวิธีใดบ้าง หมอศุขแนะนำให้คุณย่าเพิ้งซื้อทอง แต่คุณย่าเพิ้งไม่วางใจเกรงว่าเงินจะสูญจึงซักถามหมอศุขโดยไม่ทันฟังคำอธิบายจนจบก็จะตั้งคำถามใหม่ต่อไป แม้หมอศุขยืนยันว่าเงินจะไม่สูญแต่จะได้กำไรเมื่อขายทองตอนราคาทองขึ้น คุณย่าเพิ้งก็ยังไม่เชื่อ จนกระทั่งหมอศุขกล่าวว่าตนยังซื้อทองให้ภรรยาเก็บไว้ คุณย่าเพิ้งจึงคลายใจ กลับไปนำเงิน 5 ชั่งมาให้หมอศุขซื้อทอง ในราคาบาทละ 35 บาท
ต่อมาทองราคาตกเป็นบาทละ 34 บาท คุณย่าเพิ้งกังวลใจมาก หมอศุขก็ปลอบให้ใจเย็นเพราะยังไม่ได้ขายทอง แต่วันรุ่งขึ้นราคาทองตกลงไปอีกเป็นบาทละ 33 บาท คุณย่าเพิ้งยิ่งร้อนใจมาพบหมอศุข ครั้งนี้แม้หมอศุขจะอธิบายอย่างไรก็ไม่ฟัง ในที่สุดหมอศุขจึงตัดความรำคาญด้วยการยอมขาดทุนรับซื้อทองทั้งหมดในราคาบาทละ 35 บาทเท่ากับราคาในวันที่คุณย่าเพิ้งเคยซื้อไว้
ครั้นราคาทองขึ้นมาเป็นบาทละ 35 บาท คุณย่าเพิ้งก็มาหาหมอศุขเพื่อขอซื้อทองคืน หมอศุขยินดีขายคืนให้ในราคาบาทละ 35 บาท แต่คุณย่าเพิ้งยืนยันจะซื้อทองคืนในราคาบาทละ 33 บาทตามราคาทองวันที่ขายให้หมอศุข หมอศุขไม่ยอมตกลงเพราะวันที่รับซื้อนั้นตนได้ยอมขาดทุนแล้ว หลังจากนั้นเมื่อทองขึ้นไปราคาบาทละ 36.50 บาท คุณย่าเพิ้งก็มาขอซื้อทองคืนในราคาบาทละ 33 บาทให้ได้ แต่หมอศุขไม่ยอมขายให้ คุณย่าเพิ้งจึงกล่าวหาหมอศุขว่าเอาเปรียบเพราะเห็นตนเป็นผู้หญิงไม่รู้ประสีประสาจึงตั้งใจโกง หมอศุขบันดาลโทสะไล่คุณย่าเพิ้งไม่ให้มาที่บ้านตนอีก หลังจากนั้นหมอศุขก็ขายทองทั้งหมดไป ได้กำไร 17 บาท สลึงเฟื้อง 6 อัฐ
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
ธรรมศักดิ์มนตรี, เจ้าพระยา. “คุณย่าเพิ้ง.” ใน ร้อยแก้วแนวใหม่ของไทย (พ.ศ.2417-2453). หน้า 279-290. สุมาลี วีระวงศ์, บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศยาม, 2547.
คำสำคัญ
หมายเหตุ
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีใช้นามปากกาว่า “เขียวหวาน” ประพันธ์ขึ้นเมื่อพ.ศ. 2443 ลงในหนังสือพิมพ์รายเดือนลักวิทยา ที่เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีและกลุ่มเพื่อน ได้แก่ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ (น.ม.ส.) พระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) นายราชานัตยานุหาร (พาสน์ บุนนาค) และพระยาประภากรวงศ์ (ว่อง บุนนาค) ร่วมกันจัดทำเพื่อนำเสนอสารบันเทิงตามอย่างรูปแบบตะวันตก