TLD-004-050
คุยธัมมะ
ร้อยแก้ว
ความเรียง
เรื่องคุยธัมมะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการบวชเรียนในพระพุทธศาสนาที่คนในสังคมมีความเห็นแตกต่างกัน 2 ฝ่าย มีตัวละครคือ นนทิ์ (บางครั้งเรียกนนทิพฤทธิ์) สมุห์โว่งและข้าพเจ้า เป็นตัวแทนแสดงความเห็น เนื้อหาสะท้อนว่าในขณะนั้นสังคมมีข้อขัดแย้งกันว่าการบวชจำเป็นในการศึกษาพุทธศาสนาหรือไม่ ผู้เขียนให้นนทิ์อภิปรายแสดงความคิดว่าการศึกษาพุทธศาสนาโดยการบวชดีกว่าการศึกษาพุทธศาสนาโดยไม่บวช เพราะการบวชจะได้ทั้งการศึกษาหาความรู้ทางศาสนาและมีโอกาสฝึกปฏิบัติไปด้วย ส่วนการศึกษาพุทธศาสนาโดยไม่บวชเป็นเพียงการอ่านตำรา ดังตัวอย่างคำพูดของนนทิ์ว่า .
..ขอกล่าวถึงเหตุจำเปนที่จะต้องบวชก่อน. พระพุทธศาสนานับแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว จนบัดนี้ 2460 ปี. การที่พระพุทธศาสนามีอายุถึงบัดนี้ เพราะพระสงฆ์บวชทอยกันมา เปนต้นว่าคนชั้นปู่ทวดบวชแล้ว คนชั้นปู่บวช, คนชั้นบิดาบวช, รับช่วงพระพุทธศาสนาตั้งแต่ศก 1 มาจนถึงเราปัจจุบันนี้ พระสงฆ์ขาดตอนเสียเมื่อใด พระพุทธศาสนาก็หมดอายุ ... อีกประการหนึ่งการบวช ก็คือการเข้าไปเรียนพระศาสนาให้รู้เห็นจริงแก่ตัวเอง ไม่ใช่คอยฟังเขาเล่าหรือคาดคะเนเอา ... ผู้บวชรู้ทั้งจากตำราด้วยฝึกฝนตนเองในพระศาสนาด้วย มีทางรู้หลักแจ่มแจ้งแตกฉานดีที่สุด. และการจะรู้จักตื้นลึกของพระศาสนา โอกาสไหนไม่ดีเท่าบวช.
พาณีวิลาส (พระสารประเสริฐ). “คุยธัมมะ” ใน ไทยเขษม. ปีที่ 3 เล่ม 1 (15 พฤศภาคม 2496).
วรรณคดีไทยสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว , ร.6 , พระสารประเสริฐ , พาณีวิลาส , สารคดีเชิงวิจารณ์
Copyright © 2015 ฐานข้อมูลนามานุกรมวรรณคดีไทย : Thai Literature Directory