รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่องย่อ
โคลงโลกนิติจำแลงส่วนหนึ่งใช้ข้อความบางบาทในโคลงบทเดิม อีกส่วนหนึ่งทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่ เช่น ในโคลงบทต่อไปนี้ 2 บาทแรกนำมาจากโคลงโลกนิติฉบับเดิม ส่วน 2 บาทท้ายเป็นบท “จำแลง”
ปลาร้าพันห่อด้วย ใบคา
ใบก็เหม็นคาวปลา คละคลุ้ง
ชาวเราบัดนี้นา ศิวิ ไลซ์แฮ
ควรเลิกปลาร้าหมุ้ง กัดก้อนเนยแข็ง
บางบททรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่ทั้งบท โดยรักษาคำสำคัญของโคลงบทเดิมไว้ การดัดแปลงเนื้อหาส่วนหนึ่งเป็นการล้อเลียนพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่สมัยนั้นซึ่งมีค่านิยม ความเชื่อ และทัศนคติเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งบันทึกสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ โคลงโลกนิติจำแลงได้บันทึกสิ่งใหม่ในบ้านเมืองไว้หลายเรื่องด้วยกัน เช่นเรื่องโทรเลขโทรศัพท์ เรื่องการเจาะภูเขาทำเป็นอุโมงค์ให้รถไฟแล่นผ่าน เรื่องทหารอากาศและเครื่องบินรบ เป็นต้น
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. โคลงโลกนิติจำแลง. พระนคร: โรงพิมพ์ธรรมบรรณาคาร, 2504. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางชุ่ม สร้อยพิสุทธิ์ และนางบรรยง มาวิน ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม 2 เมษายน 2504)
คำสำคัญ
หมายเหตุ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เป็นโคลงสี่สุภาพจำนวน 212 บท ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต วรรณคดีเรื่องนี้ได้ชื่อว่าโคลงโลกนิติจำแลงเพราะทรงพระราชนิพนธ์โดยดัดแปลงและปรับเปลี่ยนเนื้อความบางส่วนบางตอนจากโคลงโลกนิติฉบับพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร เพื่อล้อเลียนผู้คนและเหตุการณ์ต่างๆ ในรัชสมัย