รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก
ยุคสมัย
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
เนื้อเรื่องย่อ
เนื้อความในโคลงกล่าวถึงสาเหตุการเคลื่อนย้ายพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกเนื่องจากพระวิหารประดิษฐานองค์พระอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา กระแสน้ำกัดเซาะเขื่อนริมฝั่งทำลายฐานรากจนองค์พระแตกร้าว พระสงฆ์ถมดินปักไม้กระดานมัดเชือกเป็นพนังกั้นน้ำ ก็ไม่สามารถป้องกันสายน้ำได้ พระอธิการจึงทำหนังสือกราบบังคมทูล สมเด็จพระเจ้าท้ายสระมีพระบรมราชโองการสั่งให้พระราชสงคราม ขุนนางผู้มีปัญญาความรู้คิดวิธีการแก้ไขปัญหา
โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์เป็นวรรณคดีทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และเป็นจดหมายเหตุที่ให้รายละเอียดเรื่องราวครั้งสำคัญของการแสดงทักษะภูมิปัญญาของคนไทยในการจัดการการเคลื่อนย้ายสิ่งก่อสร้างสำคัญขนาดใหญ่ที่ต้องใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีในยุคสมัยที่ไม่มีเครื่องจักรกลเหมือนดังสมัยปัจจุบัน
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
“โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก.” ใน ประวัติวัดป่าโมกวรวิหาร ประวัติพระพุทธไสยาสน์ และพระพุทธบาทสี่รอย วัดป่าโมกวรวิหาร ตำบลป่าโมก อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2533.
ศิลปากร,กรม. วรรณกรรมอยุธยา เล่ม 3. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์, 2545.
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
คำสำคัญ