รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ชื่อเรื่องอื่น
ยุคสมัย
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
เนื้อเรื่องย่อ
สุเทษณ์เทพบุตรมีความทุกข์เพราะรักมัทนาแต่ไม่สมหวัง จึงขอให้มายาวินช่วย มายาวินเล็งญาณดูรู้ว่าเหตุที่มัทนาไม่รับรักสุเทษณ์นั้นเกิดจากกรรมเก่าของทั้งสองที่ได้กระทำร่วมกันมา มายาวินใช้เวทมนตร์เรียกมัทนามา เมื่อคลายมนตร์สะกด มัทนากลับมีสติ นางก็ได้ปฏิเสธความรักของสุเทษณ์เช่นเดิม สุเทษณ์โกรธมากจึงสาปมัทนาให้จุติไปเกิด ณ โลกมนุษย์ มายาวินทูลแนะนำสุเทษณ์ว่ามีไม้ดอกชนิดหนึ่งที่น่าจะกำหนดให้เป็นกำเนิดของมัทนาในโลกมนุษย์ สุเทษณ์สาปมัทนาให้ไปเกิดเป็นกุหลาบและให้กลับร่างเป็นมนุษย์เมื่อถึงคืนวันเพ็ญ ต่อเมื่อนางมีความรักกับชายใด นางก็จะพ้นจากคำสาปไม่ต้องกลับไปเป็นกุหลาบอีก หากนางมีความทุกข์จากความรักก็ให้นางวิงวอนขอความช่วยเหลือจากสุเทษณ์ มัทนาจุติไปเป็นต้นกุหลาบ ณ ป่าหิมะวัน พระฤษีกาละทรรศินขุดไปไว้ที่อาศรม เมื่อถึงวันเพ็ญที่นางกลายเป็นมนุษย์ นางก็ปรนนิบัติพระฤษีเป็นอย่างดี จนพระกาละทรรศินรักใคร่เอ็นดูนางประดุจบุตรี วันเพ็ญคืนหนึ่งนางกลับเป็นมนุษย์และได้พบรักกับท้าวชัยเสน นางจึงไม่ต้องกลับมาเป็นต้นกุหลาบอีก พระกาละทรรศินจัดพิธีแต่งงานให้ทั้งสอง
ท้าวชัยเสนพามัทนากลับเข้าเมือง นางจัณฑีมเหสีท้าวชัยเสนไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง จึงแจ้งเรื่องไปยังพระบิดาคือพระราชาแคว้นมคธให้ยกทัพมาโจมตี ครั้นเมื่อท้าวชัยเสนออกไปรบ นางได้ใช้อุบายวางแผนใส่ร้ายมัทนากับศุภางค์ทหารคนสนิทของท้าวชัยเสนว่าลอบรักกัน ท้าวชัยเสนหลงเชื่อสั่งให้นำมัทนาและศุภางค์ไปประหาร แต่ทหารปล่อยทั้งสองไป ศุภางค์กลับไปรบและตายอย่างสมเกียรติทหาร ฝ่ายมัทนาได้อ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากสุเทษณ์ สุเทษณ์จึงให้มัทนาเลือกอีกครั้งว่าจะรับรักตนหรือไม่ มัทนาปฏิเสธเพราะนางมีความรักอันซื่อสัตย์และมั่นคงต่อท้าวชัยเสนเพียงผู้เดียว สุเทษณ์โกรธจึงสาปให้นางเป็นกุหลาบไปตลอดกาล ฝ่ายท้าวชัยเสนเมื่อได้ทราบความจริงจึงเนรเทศจัณฑีออกจากเมือง และตามหามัทนาแต่ก็ไม่ทันการณ์เพราะมัทนากลายเป็นกุหลาบไปเสียแล้ว ท้าวชัยเสนจึงนำต้นกุหลาบไปปลูกไว้ในพระนคร
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
ปิ่น มาลากุล,หม่อมหลวง. งานละครของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2518.
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ.พระราชนิพนธ์ละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา.กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2526.
คำสำคัญ
หมายเหตุ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทละครพูดคำฉันท์ เมื่อวันที่ 2 กันยายน - 18 ตุลาคม พ.ศ. 2466 ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2467 ได้ทรงแปลบทละครทั้ง 5 องก์ เป็นร้อยแก้วภาษาอังกฤษ พร้อมด้วยอภิธานศัพท์ แล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2468 และในปีเดียวกันนี้ทรงแปลเป็นร้อยกรองภาษาอังกฤษถึงองก์ที่ 4 ได้เพียงครึ่งเดียว จบลงตอนที่ศุภางค์ขับไล่นางค่อมอราลีออกจากสวนหลวงและสนทนากับปริยัมวะทา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน