รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่องย่อ
ดาหลังเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ชวา ตามตำนานเรื่องพระเจ้าไอรลังคะ ซึ่งมีพระชนม์อยู่ในพุทธศตวรรษที่ 16 ทรงเป็นกษัตริย์ที่ชวาโบราณนับถือว่ามีพระเดชานุภาพมาก สามารถรวบรวมเมืองต่าง ๆ ในชวาให้เป็นปึกแผ่น พระเกียรติคุณนี้เล่าสืบ ๆ มาจนกลายเป็นนิทานปันหยี หรือนิทานอิเหนา พระเจ้าไอรลังคะเป็นอัยกาของอิเหนา พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากรทรงเรียบเรียงคำนำเรื่องดาหลัง มีความตอนหนึ่งว่า “เรื่องราวที่เอามาเล่าว่าเป็นเกียรติคุณของอิเหนานั้น เป็นเรื่องของพระอัยกาธิราชเสียหลายเรื่อง” นิทานปันหยีในชวาเป็นนิทานที่แพร่หลายและมีหลายสำนวน มีปันหยีหรืออิเหนาเป็นพระเอกทุกเรื่อง เมื่อนิทานปันหยีเข้ามาเมืองไทยจะเรียกว่านิทานอิเหนา และใช้ชื่อพระเอกว่าปันหยีเฉพาะตอนที่ปลอมตัวเป็นชาวป่าเท่านั้น
บทละครในเรื่องดาหลังเป็นเรื่องยาวมาก ทั้งเหตุการณ์และพฤติกรรมของตัวละครมีลักษณะซ้ำ ๆ กัน เป็นเหตุให้เนื้อเรื่องสับสน ประกอบกับชื่อตัวละครมีทั้งชื่อจริงและชื่อปลอมทั้งยังเป็นชื่อคล้าย ๆ กันทำให้จำยาก แต่กระนั้นก็นับได้ว่าดาหลังเป็นวรรณคดีที่น่าอ่านและมีประเด็นที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยโดยเฉพาะบทของอิเหนาเมื่อเป็นดาหลัง แสดงให้เห็นถึงความเป็นศิลปินแท้ตั้งแต่เริ่มแกะสลักหนัง การเชิดหนัง และการพากย์หนังด้วยน้ำเสียงอันไพเราะ
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก, พระบาทสมเด็จพระ. ดาหลัง เล่ม 1 - 2. พิมพ์ครั้งที่ 3. พระนคร : แพร่พิทยา, 2513.
คำสำคัญ
นิยายอิงประวัติศาสตร์ , ชวา , ปันหยี , อิเหนา , ไอรลังคะ , กุเรปัน , ดาหา , กาหลัง , สิงหัดส่าหรี , ระเด่นมนตรี , ปะตาระกาหลา , ประไหมสุหรี , ระเด่นจะหรังกะหนังโหละ , มะเดหวี , บุษบาก้าโละ , เกนบุษบาส่าหรี , มิสากุหนุงปันหยี , ประสันตา , มิสามะงาหรัด , บุษบาส่าหรี , , ท้าวปันจะรากัน , เมืองปักมาหงัน , กัติกาส่าหรี , ดาหลัง , คนเชิดหนัง , ระตูมะงาดา , ระตูปะตาหน , สาปให้เป็นชาย , ตายในกองไฟ , หลงรูป