รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
ผู้แต่ง
ฉันทลักษณ์
สัทธราฉันท์ , สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ , วสันตดิลกฉันท์ , มาณวกฉันท์ , ภุชงคปยาตคำฉันท์ , กาพย์สุรางคนางค์ , กาพย์ฉบัง , อินทรวงศ์ฉันท์ , อินทรวิเชียรฉันท์
เนื้อเรื่องย่อ
บทประพันธ์เริ่มด้วยบทประณามพจน์ ต่อจากนั้นกล่าวถึงผลของการปฏิบัติเทวธรรมว่าทำให้มนุษย์ต่างกับสัตว์เดรัจฉาน กล่าวถึงการสวดเทวธรรมว่าโดยปกติเมื่อพระสงฆ์สวดมนต์เย็นจะลงท้ายด้วยการสวดเทวธรรมซึ่งหมายถึงการกลัวบาป การบำเพ็ญธรรม และการเว้นจากอกุศล และได้ยกนิทานเกี่ยวกับเทวธรรมว่า เมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่เชตวันวิหารในกรุงสาวัตถี มีกฎุมพีมาบวช กฎุมพีผู้นี้มีบริขารมากมาย นุ่งห่มไม่ซ้ำกัน พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้ละความโอ่อวด ภิกษุกฎุมพีโกรธเปลื้องจีวรประชด พระพุทธองค์จึงทรงเท้าความเรื่องอดีตชาติของภิกษุรูปนี้ว่าได้ใช้เวลาถึง 12 ปีกว่าจะได้เรียนรู้เรื่องหิริโอตตัปปะ เมื่อมาครองสมณเพศก็ควรรักษาธรรมะนี้ไว้ ภิกษุรู้สึกละอายจึงเอาจีวรมาครอง ที่ประชุมภิกษุขอให้พระพุทธองค์แสดงเรื่องราวในอดีตกาล พระพุทธองค์จึงทรงเล่านิทานชาดกดังนี้
พระโพธิสัตว์ประสูติเป็นโอรสของกษัตริย์กรุงพาราณสีทรงพระนามว่ามหิสสาสและมีอนุชาชื่อจันทกุมาร เมื่อพระชนนีสิ้นพระชนม์ พระบิดามีมเหสีใหม่และมีโอรสชื่อสุริยกุมาร พระบิดาให้มเหสีขอพร มเหสีจึงขอให้สุริยกุมารได้ครองราชสมบัติ พระบิดาประทานให้ตามที่นางขอและได้ส่งโอรสทั้งสองเข้าป่า ทรงสั่งว่าเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ พรของพระองค์สิ้นสุดลง ก็ให้โอรสทั้งสองกลับมาครองราชสมบัติ แต่สุริยกุมารขอตามพระเชษฐาทั้งสองไปด้วย ทั้งสามจึงเข้าป่าไป ที่สระน้ำแห่งหนึ่งสุริยกุมารพบผีเสื้อยักษ์ตนหนึ่งซึ่งได้พรจากท้าวเวสวัณว่าให้กินคนที่มาอาบน้ำและไม่รู้จักเทวธรรม ยักษ์ถามสุริยกุมารว่าเทวธรรมคืออะไร สุริยกุมารตอบว่าคือพระอาทิตย์พระจันทร์ ยักษ์เห็นว่าคำตอบไม่ถูกก็พาสุริยกุมารเข้าไปในถ้ำเพื่อรอเป็นอาหาร มหิสสาสเห็นสุริยกุมารหายไปจึงให้จันทกุมารไปดู จันทกุมารพบยักษ์และได้ตอบคำถามว่าเทวธรรมคือทิศทั้งสี่ ยักษ์ก็จับจันทกุมารไป มหิสสาสตามไปที่สระน้ำพบยักษ์จึงเทศน์เรื่องเทวธรรม เมื่อได้ฟังธรรมยักษ์ก็มีใจชื่นบาน ทูลมหิสสาสว่ารอฟังมา 12 ปีแล้ว และจะคืนพระอนุชาให้ 1 องค์ มหิสสาสเลือกพระอนุชาองค์เล็ก ยักษ์กล่าวว่ามหิสสาสไม่ได้ปฏิบัติตามเทวธรรม ควรเลือกผู้ที่มีอายุมากกว่า มหิสสาสจึงเล่าเรื่องสุริยกุมารให้ยักษ์ฟังและบอกว่าถ้าพระองค์และจันทกุมารสิ้นพระชนม์ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าพระองค์กลับเมืองและบอกประชาชนว่ายักษ์กินสุริยกุมาร ก็จะไม่มีใครเชื่อ เมื่อยักษ์ได้ยินเช่นนั้นก็พาพระกุมารทั้งสองมาคืน ทั้งสามพระองค์สอนศีลห้าแก่ยักษ์ ต่อมาเมื่อพระบิดาสิ้นพระชนม์ทั้งสามก็เสด็จกลับกรุงพาราณสี มหิสสาสทรงแต่งตั้งพระจันทร์เป็นอุปราช พระสุริยะเป็นเสนาบดี และให้ลาภยศแก่ยักษ์
เมื่อจบเรื่องพระพุทธองค์ทรงย้ำว่าแม้แต่ยักษ์ยังแสวงหาและปฏิบัติธรรม เหตุใดมนุษย์ที่เป็นภิกษุจึงมีความโกรธและเปลื้องจีวร ผู้ที่ใฝ่ธรรมควรอบรมใจให้ห่างจากสิ่งที่ไม่ดี การเปลื้องผ้า ไว้ผมชฎา ไม่กิน ไม่นอน ไม่อาบน้ำ เอาแต่ยืนเพ่งธรรมนั้นถือว่าผิดพรหมจรรย์และไม่ได้ช่วยให้บรรลุมรรคผล
ต่อจากนั้นผู้ประพันธ์ได้แสดงเทวธรรม 3 ข้อ คือ หิริโอตฺตปฺปสมฺปนฺนา การฝึกฝนให้กลัวที่จะทำผิด รู้จักยั้งใจ ประพฤติธรรม สุกฺกธมฺมสมาหิตา การทำกิจที่ดีทั้งทางโลกและทางธรรมอย่างมีพัฒนาการ สนฺโต สปฺปุริสา โลเก การมีสติยับยั้งไม่ทำบาป และสรุปว่า ถ้ามนุษย์มีเทวธรรมก็จะได้รับการยกย่องและควรที่จะเผยแผ่เทวธรรมเพื่อมนุษย์จะได้เป็นอารยชนไม่เป็นอย่างเดรัจฉาน ในตอนท้ายมีการสรรเสริญพระมหากษัตริย์ที่ทรงทะนุบำรุงศาสนา ถวายพระพร และอวยพรให้คนไทยที่มีเทวธรรมมีความสุข
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
อ.น.ก. [พระยาอุปกิตศิลปสาร]. “ เทวธรรมบรรยาย.” ไทยเขษม 2, 12 (15 เมษายน 2469): 2005-2021.
อุปกิตศิลปสาร, พระยา. “ เทวธรรมบรรยาย.” ใน คำประพันธ์บางเรื่อง. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช, 2524.
คำสำคัญ