รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่องย่อ
ปัญจวีสตินิยายประกอบด้วยนิทาน 24 เรื่อง แต่เรื่องสุดท้ายแบ่งเป็น 2 เรื่อง ดังนั้นจึงนับเป็น 25 เรื่องตรงกับความหมายของชื่อ “ปัญจวีสตินิยาย” นิทานทั้ง 25 เรื่อง ได้แก่ 1) กระบือของพระยม 2) หมอวิเศษ 3) คำค้านอันคมคาย 4) สู่รู้ไม่เข้าเรื่อง 5) เป็นข้าใครกันแน่ 6) ปัญหาเรื่องกำเนิด 7) ทำไมผู้หญิงในอินเดียจึงคลุมหน้า 8) กฎหมายคนละอย่าง 9) วิธีหุงข้าวอย่างใหม่ 10) ผลแห่งการศึกษา 11) เตนาฬิรามกับคนหลังโกง 12) เหตุไรสุนัขป่าจึงหอน 13) ปากสว่าง 14) รอดอายเพราะปัญญา 15) ทำไมฝ่ามือของคนจึงไม่มีขน 16) ผู้คงแก่เรียน 17) สวรรค์ของคนเขลา 18) ความรู้บกพร่องคือภัยอย่างแรง 19) เล่นฉลาด 20) กินเปล่า 21) เกียรติศักดิ์สำหรับคนท้องแห้ง 22) รอวาสนา 23) ยาวิเศษ และ 24) คนขี้เกียจที่สุดในโลก (แบ่งเป็น 2 เรื่อง)
นิทานส่วนใหญ่เป็นเรื่องขบขัน มีเพียง 3 เรื่องที่เป็นเรื่องอธิบายเหตุ คือเรื่องทำไมผู้หญิงในอินเดียจึงคลุมหน้า เหตุไรสุนัขป่าจึงหอน และทำไมฝ่ามือของคนจึงไม่มีขน
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
ศรีสุวรรณ์ [รองอำมาตย์เอก หลวงนัยวิจารณ์ (เปล่ง ดิษยบุตร)]. ปัญจวีสตินิยาย. กรุงเทพฯ: แม่โพสพ, 2548.
คำสำคัญ
หมายเหตุ
แปลจากเรื่องเล่าของอินเดีย ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์หลายฉบับระหว่างพ.ศ. 2468-2469 รวมพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2470 ในงานฌาปนกิจศพมารดาของศรีสุวรรณ์