รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
วันที่แต่ง
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
เนื้อเรื่องย่อ
ไตรภูมิพระร่วง กล่าวถึงลักษณะการเกิดหรือปฏิสนธิของมนุษย์ สัตว์ และเทวดา และบรรยายลักษณะของแต่ละภูมิอย่างละเอียด เริ่มด้วยนรกภูมิ บรรยายภาพที่น่ากลัวของนรกแต่ละขุม กล่าวถึงเหตุของการตกนรกแต่ละขุมและความทุกข์ทรมานที่สัตว์นรกต้องได้รับ ในติรัจฉานภูมิ กล่าวถึงการเกิดและลักษณะของสัตว์ชนิดต่าง ๆ สัตว์ที่กล่าวถึงอย่างละเอียดได้แก่ ราชสีห์ 4 ชนิด ช้างแก้ว 10 จำพวก ปลาใหญ่ 7 ตัว ครุฑ นาค และหงส์ ในเรื่องเปรตภูมิ บรรยายรายละเอียดของลักษณะเปรตแต่ละจำพวก และในส่วนที่ว่าด้วยอสุรกายภูมิ บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับเมืองของอสูรใหญ่ 4 เมือง ส่วนในเรื่องของมนุสสภูมิ บรรยายการปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์จนถึงเวลาคลอด บรรยายลักษณะของทวีปทั้ง 4 คือ อุตตรกุรุทวีป อมรโคยานทวีป บุพวิเทหทวีป และชมพูทวีปโดยละเอียด กล่าวถึงจักรพรรดิราช และบุคคลสำคัญบางคนได้แก่ โชติกเศรษฐี พญาพิมพิสารและพญาอชาตศัตรู ในส่วนที่ว่าด้วยฉกามาพจรภูมิ ได้แก่ สวรรค์ 6 ชั้น บรรยายลักษณะของสวรรค์แต่ละชั้นให้เห็นความยิ่งใหญ่ งดงามและน่ารื่นรมย์ ในส่วนที่กล่าวถึงรูปภูมิ ซึ่งเป็นที่อยู่ของพรหมที่มีรูป 16 ชั้น และอรูปภูมิ ที่อยู่ของพรหมที่ไม่มีรูป 4 ชั้น ก็บรรยายลักษณะของพรหมอย่างละเอียด ในตอนท้ายของหนังสือผู้นิพนธ์ทรงชี้ให้เห็นว่า มนุษย์ สัตว์และเทวดาทั้งหลายตลอดจนสรรพสิ่งในภูมิทั้ง 3 แม้กระทั่งภูเขา แม่น้ำ พระอาทิตย์ พระจันทร์ ดวงดาว ตลอดจนป่าหิมพานต์ ในที่สุดก็ต้องเสื่อมสลายไปทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดเที่ยงแท้เลย กล่าวถึงการเกิดไฟประลัยกัลป์ และกำเนิดโลกและสรรพสิ่งขึ้นใหม่หลังจากเกิดไฟประลัยกัลป์ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. วรรณกรรมสุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร,2539.
คำสำคัญ
พญาลิไท , พระยาลิไท , การเกิด , การเกิดของมนุษย์ , นรก , ทวีป , เมือง , สวรรค์ , แม่น้ำ , อาทิตย์ , จันทร์ , ดวงดาว , ป่าหิมพานต์