TLD-001-079
โคลงถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิพระเจ้าหลวง
โคลง
โคลงสี่สุภาพ
ด้วยเหตุที่เป็นงานพระเมรุครั้งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์จึงน่าจะได้มีการสืบค้นกระบวนตำราพระเมรุครั้งกรุงเก่าเช่นเดียวกับการพระราชพิธีอื่น ๆ กวีจึงพรรณนาความเกี่ยวกับพระเมรุมาศไว้อย่างละเอียดถี่ถ้วนทำนองจะให้เป็นแบบแผนปฏิบัติสืบไป เช่น รูปแบบสถาปัตยกรรมของพระเมรุ โรงมหรสพและมหรสพสมโภชในงานพระเมรุ กระบวนพยุหยาตราอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พระอัฐธาตุพร้อมด้วยเครื่องสังเค็ดมาสู่พระเมรุ นอกจากนี้ยังได้พรรณนาลำดับการพระราชพิธีการถวายพระเพลิงพระอัฐิว่าได้มีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานเพื่อสมโภชก่อนเป็นเวลา 7 วัน ถวายพระเพลิงพระอัฐิธาตุ แล้วจึงลอยพระอังคาร เป็นต้น มีการกล่าวถึงมหรสพสมโภชในงานพระเมรุทั้งในส่วนที่เป็นนาฏศิลป์ ดนตรี การละเล่น และวรรณคดีที่ได้รับการสืบทอดจากสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่นมีการแสดงโขน หุ่น งิ้วจีน ละครชาตรี มอญรำ เพลงเทพทอง โมงครุ่ม ระเบง ไม้หก แพนรำ ไต่ลวด ลอดบ่วง นอนหอกนอนดาบ ญวนหก โตฬ่อแก้ว กระบี่กระบอง และละครซึ่งเล่นเรื่องอิเหนาตอนลักพานางบุษบา และอุณรุทตอนอุ้มสมนางอุษา
ศรีสุเรนทร์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่น. โคลงถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิพระเจ้าหลวงและตำหนักแพ พระนิพนธ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นศรีสุเรนทร์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระนคร : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, 2512. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์ตรี ศิริ จรูญเวสม์ ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 30 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2512.)
งานถวายพระเพลิง , พระเมรุ , พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุโลกมหาราช , รัชกาลที่ 1 , สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก , พระบรมราชชนนี , แบบแผนการสร้างพระเมรุมาศ , มหรสพสมโภช , พระราชพิธีถวายพระเพลิง
Copyright © 2015 ฐานข้อมูลนามานุกรมวรรณคดีไทย : Thai Literature Directory